กิจกรรมที่ 7 : ดูโทรทัศน์ครู
ตรีโกณมิติ โดย อ. วาริน รอดบำเรอ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เนื้อหา
อัตราส่วนตรีโกณมิติ อ.วาริน ได้ใช้เทคนิคของการใช้นิ้วมือในการจำ โดย กำหนดค่าของนิ้วชี้ 30 องศา , นิ้วกลาง 45 องศา และนิ้วนางมีค่า 60 องศา เมื่อต้องการหาค่า sin 30 ให้พับนิ้วชี้ ค่าของ sin เท่ากับ สแควร์รูทบซ้ายส่วน 2 ดังนั้นค่าของ sin30 เท่ากับ 1 ส่วน 2 ค่า cos เท่ากับ สแควร์รูทบขวา ส่วน 2 และค่า tan ให้นักเรียนตะแคงมือ จะได้ค่า tan เท่ากับ สแควร์รูทบทส่วนล่าง
มุมก้ม มุมเงย อ.วาริน ใช้ผู้เรียนเป็นสื่อ โดยให้นักเรียนที่มีส่วนสูง สูงสุดและต่ำสุดของห้องมาเปรียบเทียบ ให้เห็นการมองที่เป็นมุมก้ม และมุมเงย
การหาความสูงของสิ่งต่างๆ โดยใช้ความรู้เรื่อตรีโกณมิติพร้อมการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน และใช้พื้นที่ อาคาร สระน้ำ ในโรงเรียนเป็นสื่อการสอน ด้วยวิธีนี้นักเรียนสามารถเห็นภาพ และนำไปใช้อย่างเข้าใจได้
การรจัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
ผู้สอน สอน/อธิบาย เรื่องอัตราส่วนตรีโกณจนนักเรียนเข้าใจ มีการยกตัวอย่าง ใช้สื่อการสอน ในขณะที่สอนนักเรียนให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม นักเรียนทุกคนมีความสุขไปพร้อมๆ กับมีความรู้ คุณครูสอนให้นักเรียนรู้จักคิดว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดควรหรือไม่ควร เพราะอะไร
บรรยากาศการจัดห้องเรียน
ในการจัดการเรียนการสอนของ อาจารย์วาริน เป็นการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ทุกสถานที่ ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนรู้ ในห้องเรียนจะอำนวนความสะดวกด้วยสื่อการสอน สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนรู้จักการประยุกต์ใช้กับสิ่งแวดล้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น