วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

สอบปลายภาค

แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
           ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการศึกษา  แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่รัฐบาลมีนโยบายแจกแท็บเล็ตแก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทำให้ แท็บเล็ตตื้นตัวขึ้นในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว
           สำหรับการเรียนรู้ยุคใหม่ (ศตวรรษที่ 21)  ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน  การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย   ผู้เรียนมีโอกาศแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นรายบุคคลมากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนเกิดทักษะการใช้ภาษาและการสื่อสาร  ทักษะการคิดและการสร้างสรรค์  ทักษะการใช้ชีวิตและการแก้ปัญหา  ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีคุณค่า  แท็บเล็ตเป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ตอบสนองต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีคือ ตาดูได้  หูฟังได้  เขียนบันทึก สัมผัสได้ ฝึกปฏิบัติกิจกรรมต่างๆได้  เยื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ได้ทั่วโลก มีรูปร่างกระทัดรัด สะดวกต่อการพกพา แบตเตอร์รี่ใช้งานได้นาน

ข้อดีของแท็บเล็ต
           1.  ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้ ฝึกปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ต่างๆ ได้ด้วยตัวเองทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ตามที่เขาต้องการ
           2.  สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าและการเข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
           3.  สื่อแท็บเล็ตจะช่วยให้นักเรียนเกิดการแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ซึ่งกันและกันจากช่องทางการสื่อสารเรียนรู้หลากหลายช่องทาง เป็นลักษณะของการประยุกต์การเรียนรู้ร่วมกันของบุคลในการสื่อสารหรือสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ
           4.  อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาทางสติปัญญา อารมณ์ความรู้สึก
           5.  ช่วยสะท้อนผลความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ และสามารถประเมินและประยุกต์เนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
           6.  แท็บเล็ตพีซีช่วยเพิ่มแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรียน

ข้อเสียของแท็บเล็ต
           1.  การแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กไม่ได้นำสังคมไปสู่การเรียนรู้ที่แท้จริง
           2.   เด็กสามารถนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น ใช้แท็บเล็ตเพื่อเล่นเกมส์
           3.  หากไม่มีก่ีป้องกันที่ดีอาจทำให้เด็กเกิดอาการเสพสื่ออย่างรุนแรง  สื่อที่ยั่วยุทางเพศเข้าไป
           4.  ครูผู้สอนยังไม่มีความรู้เพียงพอต่อการใช้อุปกรณ์ Tablet เพื่อการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียน (บางคน)มีความพร้อมที่จะเรียน
           5.  เด็กยังไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะใช้แท็บเล็ต
           6.  ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
           7.  ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
           8.  ด้านการบำรุงรักษา การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งานจะไม่มีหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ
           9.  อุปกรณ์ Tablet เปลี่ยนรุ่นเร็วมากและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น Tablet ที่จัดหามานั้นมีความเป็นมาตรฐานรองรับกับ Applications  มากน้อยเพียงใด

 ไพฑูรย์  ศรีฟ้า 
กิตติภัทท์  ไกรเพชร
สุรศักดิ์  ปาเฮ
           
สมาคมอาเซียน 
         การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือเฉพาะด้านของอาเซียน  โดยความร่วมมือดังกล่าวมีพัฒนาการเป็นลำดับอย่างช้าๆ ทั้งในเชิงบริหารจัดการและสาระความร่วมมือ โดยในการบริหารจัดการนั้น มีความพยายามที่จะผลักดันให้ความร่วมมือด้านการศึกษาของอาเซียน มีลักษณะที่เป็นทางการและมีผลในเชิงนโยบายและในเชิงปฏิบัติมากขึ้น ต่อมาเมื่ออาเซียนมีการปรับตัวในเชิงโครงสร้างเพื่อให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ ของอาเซียนเข้มแข็งขึ้น ได้มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนครั้งแรก คู่ขนานกับการประชุมสภาซีเมค ที่ประเทศสิงคโปร์ และมีการจัดอย่างต่อเนื่องทุกปี การจัดการศึกษาในอาเซียนเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็ง และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอาเซียนและเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ การอุดมศึกษาในอาเซียน ได้กลายเป็นภาคธุรกิจขนาดใหญ่และไร้พรมแดน เพื่อตอบสนองการเปิดเสรีการศึกษา ทั้งในกรอบอาเซียนและการค้าโลก เป็นผลให้เกิดกระแสการแข่งขันในการให้บริการด้านการศึกษา การเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถาบันการอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นนานาชาติ และ World Class University ตามระบบ และรูปแบบการจัดการศึกษาของยุโรปและอเมริกา ทั้งในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในการเรียนการสอน เช่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และในประเทศที่ใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นหลักเช่น ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพื่อตอบสนอง การเปลี่ยนแปลงและความต้องการของตลาดแรงงานในระดับชาติและภูมิภาค การปรับตัวต่อกระแส การเปิดเสรีทางการศึกษา กฎบัตรอาเซียน ฯลฯ แนวทางดังกล่าวก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียนและประชาคมยุโรป ในลักษณะข้อตกลงที่ทำร่วมกันในระดับสถาบันต่อสถาบัน ทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยของภาคเอกชน ในด้านการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาสถาบันการศึกษาร่วมกัน ในขณะเดียวกันการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ได้ช่วยส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาคณาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทั้งระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันเอง และความร่วมมือกับประเทศคู่เจราจาในอาเซียนบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย รัสเซีย และสหภาพยุโรป อีกด้วย
             อาเซียนได้ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาแนวคิดกิจกรรม และการจัดการศึกษาร่วมกันในภูมิภาค บนรากฐานภูมิปัญญาระดับชาติและภูมิภาค เพื่อป้องกันสภาพไม่สมดุลจากการไหลบ่าเพียงด้านเดียวของกระแสโลกาภิวัตน์จากตะวันตก ปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษา ที่ผู้นำให้การรับรองในระหว่างการประชุม สุดยอดอาเซียน ซึ่งเน้นการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก สะท้อนการจัดการศึกษาแบบเชื่อมโยง การหลอมรวมความหลากหลายบนพื้นฐานของเอกลักษณ์และความแตกต่าง การพัฒนาและประสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนวิชาการระหว่างชาติในภูมิภาคบนพื้นฐานของประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในกรอบ ซีมีโออาเซียน และ ยูเนสโก
              ความร่วมมือในการเปิดเสรีด้านการศึกษา ยังเป็นมาตรการรองรับสำคัญต่อเป้าหมายการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งครอบคลุมการจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา ความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ ควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งกำหนดให้มีการยกเว้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการขอวีซ่าสำหรับคนชาติอาเซียน การอำนวยความสะดวก ในการออกวีซ่า และใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานมีฝีมือและผู้เชี่ยวชาญสัญชาติอาเซียนอีกด้วย.
ประเทศไทยกับสมาคมอาเซียน
               ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยโดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียนได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม

การเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
            ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ

            ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การศึกษา เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยการศึกษาเป็นกลไกในการปลูกฝังค่านิยม แนวความคิด ความเข้าใจกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอาเซียนและเศรษฐกิจโลก โดยในแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Blueprint for ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC Blueprint) ได้กำหนดให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเป้าหมายสำคัญอันดับแรกในการเสริมสร้างวิถีชีวิตที่ดีของประชากรในภูมิภาค ด้วยการให้ความสำคัญกับการศึกษาและการสร้างโอกาสทางการศึกษา การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเรียนรู้ตลอดชีวิต การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์

         กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการภายใน ปี 2555 – 2558 เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ดังนี้

         1.การให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยรณรงค์ให้ประชากรทุกคนอ่านออกเขียนได้ ลดอัตราการไม่รู้หนังสือ เปิดโอกาสอย่างเท่าเทียม ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีอัตราประชากรรู้หนังสือ ร้อยละ 93.5 และมีเพียงร้อยละ 6.5 ของประชากรวัยเรียนที่ไม่รู้หนังสือ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนทางไกล การศึกษานอกระบบ การเรียนจากศูนย์การเรียนชุมชน (Community Learning Centres- CLCs) ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากกลุ่มประเทศอาเซียนว่า เป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งในการส่งเสริมการพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่าน CLCs รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกับศูนย์การเรียนชุมชนในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นด้วย

          นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำหลักสูตรมาตรฐานอาเซียน (ASEAN Curriculum) สำหรับช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.6) ช่วงชั้นที่ 2 (ม.1-ม.3) และช่วงชั้นที่ 3 (ม.4-ม.6) โดยกำหนดใน 7 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พลศึกษา  เทคโนโลยีสารสนเทศ  จริยศึกษา  ศิลปะ และอัตลักษณ์ของแต่ละประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค เพื่อจัดทำรายละเอียดหลักสูตรอาเซียนในเดือนกันยายน 2555

            2.การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยส่งเสริมการสอนภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาราชการของอาเซียน การพัฒนาครูซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งประเทศไทยมีเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาครูกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนการสอน

            3.การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม โดยเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมายในประเทศ พัฒนากรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเป็นกลไกและเครื่องมือในการพัฒนากำลังคนที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาระหว่างสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และสถาบันเฉพาะทาง

             4.การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยส่งเสริมการพัฒนาสื่อการ เรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในสาระวิชาและระดับชั้นต่างๆ ทั้งในรูปแบบ on-line และ/หรือ off-line กำหนดสมรรถนะผู้เรียนในด้าน ICT ในแต่ละระดับการศึกษา พัฒนายกระดับสถาบันการศึกษาให้มีความสามารถเฉพาะทางด้าน  ICT เพื่อผลิตบุคลากรด้าน ICT ให้มีทักษะความเชี่ยวชาญสูง สร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานในการเข้าฝึกอบรม และสอบมาตรฐานวิชาชีพด้าน ICT ที่มีการกำหนดไว้ในระดับสากล พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

               5.การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์นักวิทยาศาสตร์และบุคลากรทางด้านวิชาชีพทางด้านการวิจัยที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา
ที่มา: http://www.thaipost.net

ดร.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ


ครูกับภาวะผู้นำ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง 
            "การที่ครูมีควารู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"  ผู้นำทีดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ  ศรัทธา  ความไว้วางใจ  สร้างแรงบันดาลใจ  ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ  หรือผู้นำทางการเรียนการสอน  ควรมีพฤติกรรม 7 ประการคือ
             1.  หาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาอ่าน
             2.  อยู่กับปัจจุบัน   ทันสมัย
             3.  หาข้อมูล  ความรู้ที่เกี่ยวกัยเด็ก
             4.  ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำ
             5.  กำหนดให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
             6.  เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
             7.  ท้าทายให้เด็กคิด

แสดงความคิดเห็นและประเมินวิชา
             การเรียนวิชาหารจัดการในชั้นเรียนซึ่งผู้สอนได้ทำการสอนโดยใช้บล็อก  นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้โดยการสืบค้นจากเว็บไซด์  บทความต่างๆ ในแต่ละหัวข้อที่ผู้สอนได้มอบหมายงานให้ทำ  และผู้สอนมีการสอน  อธิบายด้วย เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนมากยิ่งขึ้น  ในอนาคตข้างหน้า  ถึงแม่ว่าวิชาคณิตศาสตร์ จะมีโอกาศน้อยที่จะสามารถออกแบบการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบของการเรียนรู้ผ่านบล็อกตลอดเวลา  แต่จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ผู้สอนจะเลือกใช้ให้นักเรียนของตน  เรียนรู้ด้วยตนเอง  เรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียน จากบล็กที่ผู้สอนได้จัดทำไว้เพื่อนักเรียนของเรา  หากจะให้คะแนนวิชานี้  ควรได้  10  คะแนน  เพราะเป็นวิชาที่ผู้เรียนจะใช้ได้จริงในการประกอบอาชีพ  แต่หากให้คะแนนผู้สอน  ควรได้  9 คะแนน  เนื่องจาก  ระหว่างการเรียนการสอน  เปิดโอกาศให้ผู้เรียนบันเทิงมาก  ถึงมากที่สุด  เพราะ  ผู้เรียนบางคนไม่ทำงานในห้องเรียนเลย  อย่างไรก็ตามสำหรับการจัดการเรียนการสอนของผู้สอนอยู่ในขั้นดี  ได้ความรู้เยอะเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9 :  จัดห้องเรียนอย่างไรให้น่าเรียน
           การจัดห้องเรียนให้น่าเรียนคือ
                  1.  ห้องเรียนควรมีสีสันที่น่าดู  สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี  ถูกสุขลักษณะ
                  2.  จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่อยู่ในห้องเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
                  3.  อาจมีการดัดแปลงห้องเรียนเป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนต์และอื่นๆ เพื่อใช้ห้องเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                  4.  สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น  ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
                  5.  นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
                  6.  จัดเครียมห้องเรียนให้มีความพร้อมในการสอนแต่ละครั้ง

กิจกรรมที่ 8 :  ครูมืออาชีพในทัศนคติของข้าพเจ้า
           ครูมืออาชีพในทัศนคติของข้าพเจ้าคิดว่า ครูมืออาชีพควรมีลักษณะ 3 ประการดังนี้
                   1.  ต้องมีความฉันทะต่ออาชีพครูเป็นพื้นฐาน
                   2.  ต้องมีความเมตตาต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน
                   3.  ต้องมีความเป็นกัลยานมิตร  พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

   ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง     วางแผนการสอนอย่างดี
                                มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์                     สอนจากง่ายไปยาก
                                วิธีสอนหลากหลายชนิด                 สอนให้คิดมากกว่าจำ
                                สอนให้ทำมากกว่าท่อง                  แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร
                                ต้องชำนาญการจูงใจ                     อย่าลืมใช้จิตวิทยา
                                ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน                   ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์
                                เฝ้าติดตามพฤติกรรม                     อย่าทำตัวเป็นทรราช
                                สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว             ประพฤติตัวตามที่สอน
                                อย่าตัดรอนกำลังใจ                       ให้เทคนิคการประเมิน
                                ผู้เรียนเพลินมีความสุข                  ครูสนุกกับการสอน

                                                                                                ที่มา :  รศ.ดร.ทองคูณ  หงส์พันธุ์



วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาค

การสอนแนะให้รู้คิด : รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
             1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ ... การสอนแนะให้รู้คิดเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ โดยเกิดจากความรู้และความเชื่อของครูผู้สอนนำมาซึ่งการตัดสินใจของครูผู้สอน เกิดการเรียนการสอนขึ้นในเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจพร้อมกับพฤติกรรมของนักเรียนส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ตามขั้นตอน คือ ครูนำเสนอปัญหา แนะนำให้นักเรียนเข้าใจปัญหา นักเรียนรายงานการแก้ไขปัญหา สุดท้ายผู้สอนและนักเรียนร่มกันอภิปราย ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการศึกษาระดับชาติที่เน้นทักษะการคิดของผู้เรียน สามารถสอดแทรกทักษะและกระบวนการต่างๆ เพื่อให้นักเรียนฝึกกาีคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และสามารถให้เหตุผลประกอบได้ นักเรียนเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนในชั้นเรียนกับชีวิตจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

            2.  นำความรู้เรื่องการจัดการในชั้นเรียน CGI  คือ ขั้นตอนที่ 1 ครูเสนอปัญหา  ขั้นตอนที่ 2 ครูช่วนแนะให้นักเรียนเข้าใจปัญหา. ขั้นที่ตอนที่ 3 นักเรียนรายงานคำตอบและวิธีแก้ปัญหา. และ ขั้นตอนที่ 4. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย. จะนำขั้นตอนเหล่านี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดแก้ปัญหา. และฝึกให้เป็นผู้มีเหตุผล เน้นหนักที่ให้นักเรียนคิดเองมากกว่าครูเป็นคนบอก

            3.  ในอนาคตที่จะเป็นครู แนวทางหรือวิธีการในการจัดการเรียนการสอน คิดว่าจะนำการสอนแนะให้รูไปประยุกต์ใช้ โดยการฝึกให้นักเรียนเป็นผู้คิดเป็น ทำเป็น เพราะเชื่อว่าการที่ผู้เรียนได้คิดเอง ทำเอง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้มากกว่าที่มีครูคอยบอกและคอยนำเสนอความคิดให้ และยอมรับความคิดเห็นของนักเรียน ไม่ยึดกับคำว่า ครูถูกเสมอ และยอมรับในความสามารถของผู้เรียนในการเรียนที่แตกต่างกัน
                                                         " ครูทั่วไป.     บอก  "
                                                         " ครูที่ดี.       อธิบาย"
                                                         " ครูที่เก่ง.     สาธิต "
                                                         " ครูที่เยี่ยม.   เป็นแรงบันดาลใจ"

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7 : ดูโทรทัศน์ครู

ตรีโกณมิติ โดย อ. วาริน  รอดบำเรอ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

เนื้อหา
            อัตราส่วนตรีโกณมิติ อ.วาริน ได้ใช้เทคนิคของการใช้นิ้วมือในการจำ โดย กำหนดค่าของนิ้วชี้ 30 องศา , นิ้วกลาง  45 องศา และนิ้วนางมีค่า 60 องศา เมื่อต้องการหาค่า sin 30 ให้พับนิ้วชี้ ค่าของ sin เท่ากับ สแควร์รูทบซ้ายส่วน 2 ดังนั้นค่าของ sin30 เท่ากับ 1 ส่วน 2  ค่า cos เท่ากับ สแควร์รูทบขวา ส่วน 2  และค่า tan ให้นักเรียนตะแคงมือ จะได้ค่า tan เท่ากับ สแควร์รูทบทส่วนล่าง
            มุมก้ม มุมเงย อ.วาริน ใช้ผู้เรียนเป็นสื่อ โดยให้นักเรียนที่มีส่วนสูง สูงสุดและต่ำสุดของห้องมาเปรียบเทียบ ให้เห็นการมองที่เป็นมุมก้ม  และมุมเงย
            การหาความสูงของสิ่งต่างๆ โดยใช้ความรู้เรื่อตรีโกณมิติพร้อมการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน และใช้พื้นที่ อาคาร สระน้ำ ในโรงเรียนเป็นสื่อการสอน ด้วยวิธีนี้นักเรียนสามารถเห็นภาพ และนำไปใช้อย่างเข้าใจได้

การรจัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
            ผู้สอน สอน/อธิบาย เรื่องอัตราส่วนตรีโกณจนนักเรียนเข้าใจ  มีการยกตัวอย่าง  ใช้สื่อการสอน  ในขณะที่สอนนักเรียนให้ความร่วมมือ  มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน  มีเสียงหัวเราะ  รอยยิ้ม นักเรียนทุกคนมีความสุขไปพร้อมๆ กับมีความรู้ คุณครูสอนให้นักเรียนรู้จักคิดว่าสิ่งใดถูก  สิ่งใดผิด  สิ่งใดควรหรือไม่ควร เพราะอะไร 

บรรยากาศการจัดห้องเรียน
            ในการจัดการเรียนการสอนของ อาจารย์วาริน  เป็นการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน  และนอกห้องเรียน  ทุกสถานที่  ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนรู้  ในห้องเรียนจะอำนวนความสะดวกด้วยสื่อการสอน  สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนรู้จักการประยุกต์ใช้กับสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ 6 : เล่าเรื่องด้วยรูปภาพ
ให้นักศึกษาเรื่องที่ตนเองสนใจ 1 เรื่อง แล้วถ่ายรูปเล่าเป็นเรื่องราว เป็นรูปภาพ  เพื่อเป็นการนำเสนอในบล็อกต่อไปในคราวหน้า

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5 : ครูที่ชื่นชอบ


ชื่อ ศุภวรรณ  นามสกุล  สงแก้ว
            สอนวิชาคณิตศาสตร์  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4
            โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภวัฒก์
ประวัติการศึกษา
            ปริญญาตรี  วิทยาลัยครู นครศรีธรรมราช
ประวัติการทำงาน
            2531 อาจารย์ 1 ระดับ 2 โรงเรียนบ้านหนองฆ้อง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
            2533 อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนสองพี่น้อง  อำเภอสองพี่น้อง  จังหวัดสุพรรณบุรี
            2537 อาจารย์ 1 ระดับ 4 โรงเรียนทุ่งใหญ่วิทยาคม  อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
            2538 - ปัจจุบัน ครู คศ. 2 โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์
ผลงานที่ชื่อนชอบ
            ในการสอนของอาจารย์บ้างครั้งก็มีสื่อการสอนบ้างเพื่อให้นักเรียนได้เห็นภาพจริง  แต่ทุกครั้งที่สอน  คือ อาจารย์จะให้นักเรียนนั่งฟังอย่างตั้งใจ  ยกตัวอย่างหลายรูปแบบ ถ้านักเรียนมีข้อสงสัยอะไรสามารถถามได้ในขณะนั้น และเมื่อฟังการอธิบายเสร็จแล้วให้นักเรียนจดบันทึกตัวอย่างที่อาจารย์สอน
และให้ทำแบบฝึกหัด  แบบฝึกต่างๆ ที่อาจารย์ได้เตรียมมา และจะมีการเน้นให้นักเรียนอ่านโจทย์ให้ถูกต้อง และเน้นให้นักเรียนทำงานอย่างเป็นขั้นตอน 
การประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
            ก่อนอื่น  เราต้องพัฒนาความรู้ให้มากพอ แม่นยำในวิชาที่สอน ในการสอนประยุกต์การสอนให้มีรูปแบบต่างๆ  ไม่ซ้ำกัน  เพื่อความไม่น่าเบื่อ  และดึงดูดให้นักเรียนรู้สึกอยากเรียน มีสื่อการสอนบ้างในเนื่อหาที่ยากต่อความเข้าใจของนักเรียน  เนื่อหาที่เป็นนามธรรม จะพยายามสร้างสื่อให้เป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมความเข้าใจของเด็ก  ฝึกให้เด็กรู้จักการทำงานกลุ่ม
กิจกรรมที่ 4 : การทำงานเป็นทีม

             การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถ 2 อย่าง คือ ความสามารถในการใช้วิชาความรู้  และความสามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้ง 2 ประการนี้จำเป็นต้องทำควบคู่กันด้วยความสุจริตกาย ใจ  ด้วยความคิดเห็นที่เป็นอิสระและถูกต้อง ปราศจากอคติ จึงจะช่วยให้งานบรรลุตามจุดมุ่งหมายและประโยชน์ที่พึงประสงค์
             ทีม คือกลุ่มของบุคคลที่ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุจุดประสงค์เดียวกัน  โดยเสียสละเวลาส่วนตัว เข้า ผูกพันธ์และให้ความร่วมมือ เพื่อเป้าหมายของทีม
             การทำงานเป็นทีมโดยที่สมาชิกทุกคนทราบวัตถุประสงค์  รู้หน้าที่  มีกฎระเบียบ  ผลงานที่ออกมาจะเป็นที่พอใจของสมาชิกทุกคน
             เช่น  การทำงานเป็นทีมในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งวิชานี้มีกิจกรรมที่กลุ่มจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคม  ทางกลุ่มได้ทีการประชุม หาข้อยุติว่าทางกลุ่มจะทำอะไรเพื่อสังคม  จึงได้ข้อสรุปว่า จะช่วยกันพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ณ วัดคันธมาลี  อ.ร่อนพิบูลย์  ในการปฏิบัติงานได้แบ่งตามความสามารถของสมาชิกในกลุ่ม  มีการวางแผนในการทำงานว่า  จะทำอะไรบ้าง งานใดควรทำในวันใด  ควรจะจบกิจกรรมในรูปแบบใด เพื่อความประทับใจของผู้ที่ได้รับจากสิ่งที่าทงกลุ่มได้ทำให้    จากการนำเสนองานแก่อาจารย์ผู้สอนถือว่า เป็นการทำงานร่วมกันที่ดี ซึ่งจะมีภาพกิจกรรมการทำงาน  ในกิจกรรมที่ 6 แบ่งปันรอยยิ้มเพื่่อน้อง
กิจกรรมที่ 3 : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ความแตกต่างระหว่างก่อนศตวรรษที่ 21 กับยุคศตวรรษที่ 21
              ในยุคศตวรรษที่ 21 มีแนวคิดที่ว่าการเรียนรู้ คือ ชีวิต การเรียนรู้เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง  มนษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  โรงเรียนมีหลักสูตรที่หลากหลาย ผู้เรียนเรียนรู้และตัดสินใจได้ด้วยตนเองว่าจะเรียนอะไรและเรียนอย่างไร  ยอมรับขีดความสามารถในการจำที่ไม่เท่ากัน  ทุกคนได้รับการกล่อมเกลาและเจริญขึ้นในสังคมที่ตนเป็นสมาชิก
             ยุคก่อนศตวรรษที่ 21 มีแนวคิดว่า การเรียนรู้จะสิ้นสุดเพื่อการเริ่มต้นของชีวิต  การเรียนรู้เกิดขึ้นเฉพาะในโรงเรียน ผู้มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เท่านั้น การเรียนมีการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหา  ผู้เรียนไม่รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง  คนที่จำได้มากกว่าย่อมเรียนได้มากกว่าคนที่จำได้น้อยกว่า  และโรงเรียนต้องต้องกล่อมเกลามนุษย์

             ในอนาคตที่จะเป็นครูยุคต่อไปข้างหน้า ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัว
                        1. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในหลายๆ ด้าน รู้รอบ รู้จริง รู้ลึก
                        2. เป็นผู้รู้จักการบูรณาการ
                        3. เป็นผู้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า  และแก้ปัญหาระยะยาวได้ดี
                        4. เป็นผู้มีความยืดหยุ่น  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
                        5. เป็นผู้สอนที่มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย จัดรูปแบบการเรียนที่แตกต่าง
                        6. เป็นผู้มีระเบียบวินัย
                        7. เป็นผู้ร่วมสมัย  ก้าวทันเทคโนโลยีและข่าวสาร


วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2 : ทฤษฏีการบริหารการศึกษา

Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
            มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 
             1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) 
             2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)
             3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs)
             4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) 
             5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)
มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
             1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
             2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
             3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ

Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
            ทฤษฎี X (Theory X)  เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
            ทฤษฎี Y (Theory Y)  เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
แมคเกรเกอร์  ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y

William Ouchi : ทฤษฎี Z                 

                 ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
                  1.) Individualism
                  2.) Short Term
                  3.) Individual Decision
                 ทฤษฎี J  คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า  การจ้างงานตลอดชีวิต หรือ Lifetime Employment มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน เพราะฉะนั้นการเลี้ยงคนแบบญี่ปุ่นจะส่งเสริมให้มีการฝึกงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ผลเสียคือ ต้องเลี้ยงคนที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำไว้ในหน่วยงานจนตลอดชีวิตด้วยเช่นกัน ก่อให้เกิดผลเสียต่อองค์การ ลักษณะประการที่สองของการบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินที่ต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม ซึ่งเป็นผลดี แต่ผลเสีย คือ อาจเกิดความล่าช้า
                 วิลเลี่ยม โอชิ นำข้อดีข้อเสียนั้นมาวิเคราะห์สร้างเป็นทฤษฎีร่วมสมัย ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย 
                 1. ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ต้องจ้างตลอดชีวิตแต่ก็ไม่ใช่การจ้างแบบระยะสั้น แต่เน้นการจ้างในระยะเวลาที่นานพอสมควรแล้วสร้างความผูกพัน
                 2. ประการที่สอง จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง กล้าตัดสินใจ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากจนเกินไป 
                 3. และประการที่ 3 คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ

Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
                เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)  หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่   เชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
                1. การวางแผน(Planning)
                2. การจัดองค์การ(Organizing)
                3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
                4. การประสานงาน (Coordinating)
                5. การควบคุม (Controlling)
                อังริ ฟาโยล (Henri Fayol) เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen Principles of Management) ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
                1. การจัดแบ่งงาน (division of work)
                2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority)
                3. ความมีวินัย (discipline)
                4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command)
                5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction)
                6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน (Subordination of Individual Interests to the General Interests)
                7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration
                8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization)
                9. สายบังคับบัญชา (scalar chain)
              10. ความเป็นระบบระเบียบ (order)
              11. ความเท่าเทียมกัน (equity) 
              12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel)
              13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative)
              14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps)

Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)
            แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
             1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน (Division of labor)
             2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy)
             3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection)
             4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations)
             5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality)
             6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation)

Luther Gulick : POSDCORB
            Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน) มีการนำรูปแบบการบริหารจัดการของ Luther Gulick ไปใช้ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง 7 ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol , Frederick W.Taylor และ Max Weber 
กิจกรรม 7 ประการมีดังนี้
            P คือการวางแผน (planning)
            O คือการจัดองค์การ (organizing)
            D คือการสั่งการ (directing)
            S คือการบรรจุ (staffing)
            CO คือการประสานงาน(co-ordinating)
            R คือการรายงาน (reporting) 
            B คือการงบประมาณ (budgeting)
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
             ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)
เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
            * นโยบายขององค์กร
            * การบังคับบัญชา
            * ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน
            * สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน
            * ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ
            * ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่            * การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
            * การได้รับการยอมรับ
            * ทำงานได้ด้วยตนเอง
            * ความรับผิดชอบ
            * ความก้าวหน้าในงาน
            * การเจริญเติบโต

Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
             เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
                     1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
                     2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
                     3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
                     4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
เทย์เลอร์ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ(Different rate system)

Henry L. Gantt : ผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart) 
            Gantt เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านที่นำเอากราฟ "Gantt Chart" มาเป็นสื่อในการอธิบายแผน การวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์กรที่มีความสลับซับซ้อน เพื่อให้ผู้รับฟังเกิดมิติในการรับรู้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังได้คิดวิธีจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานแบบใหม่ โดยใช้วิธีให้สิ่งจูงใจ

Frabk B. & lillian M. Gilbreths : Time-and-Motion Studies
            แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the o­ne best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน (Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process Chart)

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา

การบริหาร  คือ การใช้ศิลปะในการทำงานหรือดำเนินงานของกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อทำกิจกรรมให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้ร่วมกัน

การศึกษา  คือ การพัฒนาชีวิตของผู้เรียนในด้านสังคม  อารมณ์ และสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี  มีความรู้  ความคิดและความสามารถ

การบริหารการศึกษา  คือ การใช้ศิลปะในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคล  เพื่อพัฒนาคนให้เป็นคนดี  คนเก่ง อย่างมีประสิทธิภาพ

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชื่อ นางสาวสุทธิตา   นามสกุล  กาญจนคลอด  รหัสนักศึกษา 5311103070

เกิดวันที่  29  มีนาคม  2534

ที่อยู่  101 หมู่ 16 ตำบลร่อนพิบูลย์  อำเภอร่อนพิบูลย์  จังหวัดนครศรีธรรมราช

สีที่ชอบ  สีขาว

e-mail  jubjangijubjang@gmail.com

ประวัติการศึกษา
             ประถมศึกษา                      โรงเรียนบ้านม่วงงาม
             มัธยมศึกษาตอนต้น           โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์
             มัธยมศึกษาตอนปลาย       โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์

คติประจำใจ  The  road to success is by  no means strewn with  roses.

ปรัชญา/อุดมการดำเนินชีวิต  รักความยุติธรรม  เชื่อมั่นในตนเอง

งานอดิเรกที่ชอบทำ          ถักโครเชต์ นิตติ้ง
                     
ความสามารถพิเศษ          คัดลายมือ